ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสนใจในแนวคิดเฟมินิสม์และมีขบวนการเคลื่อนไหวโดยใช้หลักการเฟมินิสม์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเข้าถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหลักการและโอกาสในการรับฟังเสียงและประสบการณ์จากคนทำงานเคลื่อนไหวจากฐานคิดแบบเฟมินิสม์ยังมีจำกัด
จากเสียงตอบรับที่ดีในการจัดทำโครงการ School of Feminist รุ่นที่ 1 และมีผู้สนใจต้องการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเฟมินิสม์และสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นเป็นจำนวนมาก ทางผู้ร่วมจัดโครงการจึงเปิดรับสมัครผู้สนใจในรอบที่ 2 ในปี 2021 นี้ โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับบริบทปัจจุบันมากยิ่งขึ้นและเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมจาก 40 เป็น 60 คน และจะเปิดสอนออนไลน์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 สัปดาห์
School of Feminists (SoFs) ก่อตั้งและจัดการหลักสูตรเมื่อปี 2020 โดย มัจฉา พรอินทร์ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชนและองค์กร V -Day ประเทศไทย, ดาราณี ทองศิริ : เฟมินิสต้า และ วิภาพรรณ วงษ์สว่าง : Thaiconsent โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก Frida Young Feminist Fund
ใน Batch ที่ 2 นี้ School of Feminists (SoFs) ได้เชิญองค์กรที่ขับเคลื่อนด้านความเป็นธรมทางเพศและความเป็นธรรมทางสังคม มาร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ และร่วมบรรยายพิเศษ ได้แก่ กลุ่มทำทาง, องค์กรหิ่งห้อยน้อย,ภาควิชาสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, องค์กร Shero รวมถึงในกระบวนการเรียนรู้ครั้งสุดท้าย จะมีการจัด Pre-Internation Women’s Day 2021 โดย School of Feminist 2nd Batch ซึ่ง School of Feminists ปี 2021 นี้ได้การสนับสนุนงบประมาณจัดจากองค์กร V-Day ประจำประเทศไทย
โครงร่างหลักสูตรโดยย่อ
**ทุกคลาสเรียนและสอนเป็นภาษาไทยทั้งหมด**
- Session 1
- – Power Analysis and Theory of Change : การวิเคราะห์เรื่องอำนาจและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำกระบวนการโดย มัจฉา ทองอินทร์ จาก องค์กรสร้างสรรค์เพื่ออนาคตเยาวชน
- – Power Analysis and Theory of Change : การวิเคราะห์เรื่องอำนาจและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำกระบวนการโดย มัจฉา ทองอินทร์ จาก องค์กรสร้างสรรค์เพื่ออนาคตเยาวชน
- Session 2
- – What is feminism? (Feminist Theory) : ทฤษฎีเฟมินิสม์ แนวคิดเฟมินิสม์สายต่างๆ นำกระบวนการโดย ดาราณี ทองศิริ
- – บรรยายพิเศษ โดย มลิวัลย์ เสนาวงษ์ จาก ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Session 3
- – Patriarchy + Gender Binary (Feminist Theory) : ระบอบชายเป็นใหญ่และแนวคิดเพศทวิลักษณ์ นำกระบวนการโดย ดาราณี ทองศิริ
- – บรรยายพิเศษโดย บุษยาภา ศรีสมพงษ์ จาก SHero Thailand
- Session 4
- – Feminist Analysis + Development Justice Framework :การวิเคราะห์บนฐานคิดเฟมินิสม์และการพัฒนากระบวนการยุติธรรม นำกระบวนการโดย มัจฉา พรอินทร์
- – บรรยายพิเศษโดย รวงทัพพ์ แก้วแกมจันทร์ จาก กลุ่มหิ่งห้อยน้อย
- Session 5
- – Human Rights and Sustainable Development Goals : สิทธิมนุษยชนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นำกระบวนการโดย มัจฉา พรอินทร์
- – บรรยายพิเศษโดย สุพีชา เบาทิพย์ จาก กลุ่มทำทาง
- Session 6 Pre-International Women’s Day Conference Webinar : งานประชุมออนไลน์ก่อนวันสตรีสากลภายใต้หัวข้อย่อย :
- – Sexual Reproductive Health and Rights :ทำแท้ง, Trans health, การตั้งครรภ์วัยรุ่น, HIV
- – LGBTIQ movement : สมรสเท่าเทียม, กฎหมายคำนำหน้า, Non Binary and Queer Movement
- – Indigenous rights : Stateless, Land Right,Indigenous Women Rights
- – Human Right and Gender Justice : แรงงานข้ามชาติ, ผู้หญิงพิการ, Sexworker, ทรัพยากรและสิทธิที่ดิน
จุดประสงค์
- เสริมศักยภาพ เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงมิติความเป็นธรรมทางเพศและความเป็นธรรมทางสังตม ประมาณ 60 คน
- สร้างเครือข่ายการทำงานทั้งระดับชุมชนและระดับประเทศ
- สร้างขบวนการเคลื่อนไหวที่นำโดย Young Feminist Movement
กิจกรรมและกำหนดการ
- รับสมัครผู้เรียนที่มีความตั้งใจ และพร้อมเข้าเรียน เริ่มรับสมัคร วัน 31 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์
- พิจารณาผู้มีสิทธิเข้าเรียน 13 กุมภาพันธ์
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าเรียน ภายใน 14 กุมภาพันธ์
- คอนเฟิร์มสิทธิภายใน 14-15 กุมภาพันธ์
- ดำเนินการเรียนการสอนตามโครงร่างหลักสูตร 16 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม ทุกวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี เวลา 19.00 – 22.00 น. รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง
- ร่วม Pre-International Women’s Day Conference 2021 วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม
- ประเมินผลกิจกรรมระหว่างหลักสูตร
- ติดตามผลหลังจบหลักสูตรในระยะสั้น
ในระยะยาว
หลักสูตรต่อเนื่องที่รองรับคนได้มากขึ้น / จัดหลายครั้ง / ขยายผลเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้วยตัวเองที่สามารถให้บุคคลทั่วไปเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างอิสระ และสร้างขบวนการเคลื่อนไหวที่นำโดย Young Feminist Movement
ช่องทางการสมัคร
เปิดรับสมัครในช่องทาง https://forms.gle/tXNc9dxCNcGWCqTPA จนถึง 12 กุมภาพันธ์ เวลา 23.59 น.
ผู้อำนวยการหลักสูตร
มัจฉา พรอินทร์
-
- ลาว-อิสาน เลสเบี้ยน เฟมินิสต์ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Lao-I-saan lesbian feminist women human right defender)
- นักเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิความหลากหลายทางเพศ ทั้งในระดับชุมชน ประเทศและนานาชาติ
- ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการองค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน
- ผู้ก่อตั้งและผู้ประสานงานองค์กร V-Day ประจำประเทศไทย และร่วมจัดการเต้นรณรงค์ ยุติความรุนแรงทางเพศ/ One Billion Rising ซึ่งเป็นขบวนการเคลื่อนไหวในระดับโลกมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจุบัน
- กรรมการสมาคม ผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนา เอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Forum on Women, Law and Development – APWLD)
- อดีตประธานมูลนิธิ อิลก้า (ILGA Foundation) องค์กรเครือข่าย LGBTIQ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนของชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศ
- อดีตนายกสมาคม ผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนา เอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Forum on Women, Law and Development – APWLD) องค์กรเครือข่ายผู้หญิงนักปกป้องสิทธิและเฟมินิสต์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งทำงานพัฒนาความเป็นธรรมในสังคมผ่านการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวเฟมินิสต์
- คณะกรรมการบริหาร องค์กรไอเฟค (IFED – International Family Equity Day) องค์กรรัดับโลกที่ทำงานรณรงค์สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
- ผู้ร่วมจัดตั้งและสมาชิก เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อคามเท่าเทียมระหว่างเพศ (CSOs for Gender Eqaulity)
- อาจารย์พิเศษ บรรยายเรื่องเพศภาวะ สิทธิความหลากหลายทางเพศและสิทธิมนุษยชนรวมถึงขบวนการเคลื่อนไหวสังคมทั้งในบริบทประเทศไทยและนานาชาติ
- ทำงานด้านการจัดศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นธรรม ในกลุ่มเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองผู้หญิงและ LGBTIQN+
ประวัติการศึกษาและประสบการณ์การฝึกอบรม
-
- ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัญฑิตสาขาจุลชีวะวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิษย์เก่าโครงการ The International Visitor Leadership Program (IVLP), Washington, D.C, United State of America
- เข้าร่วมอบรม International Human Right Training Program (IHRTP), Montreal, Canada จัดโดยองค์กร Equitas Human Right
- กระบวนการ อบรมสิทธิมนุษยชน และกลไก UN ให้กับเครือข่าย LGBTIQ ในระดับภูมิภาค 3 ปีซ้อน
- ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 LGBTIQ ที่ต้องรู้จัก โดย UNWOMEN https://medium.com/@UN_Women/five-lgbti-activists-you-need-to-know-e3595dc6b435
- เข้าร่วมอบรม The Southeast Asia Sub-Regional Feminist Legal Theory and Practice (FLTP) Training
- เข้าร่วมอบรม The Southeast Asia Sub-Regional Feminist Legal Theory and Practice (FLTP) Training for the trainer
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นเยาวชน 1 ใน 50 คนจากผู้สมัครมากกว่า 5,000 คนจากทั่วโลกให้เข้าร่วมประชุม The Unesco World Conference for sustainable Development”, Aichi – Nagoya , Japan
ผู้อำนวยการหลักสูตร
ดาราณี ทองศิริ
- นักสิทธิมนุษยชนด้านความยุติธรรมทางเพศ เคยทำงานเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องความยุติธรรมทางเพศและร่วมก่อตั้งองค์กร ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน Buku Classroom ทำงานกับกลุ่มผู้หญิงชายขอบและคนที่มีความหลากหลายทางเพศในสามจังหวัดชายแดนใต้
- ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งสื่อออนไลน์และสำนักพิมพ์ เฟมินิสต้า (Feminista) นำเสนอข่าว บทความ และความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศรอบด้าน และเขียนบทความประจำเกี่ยวกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ให้กับเว็บไซต์ Spectrum.th
- จบการศึกษาปริญญาโทสาขา เพศสถานะ วัฒนธรรมและการพัฒนาศึกษา จาก Pune University (MA. in Gender, Culture&Development Studies) ประเทศอินเดีย
ผ่านการอบรมคอร์สเกี่ยวกับความยุติธรรมทางเพศและสิทธิมนุษยชน เช่น
- The Sexuality, Gender and Rights Institute: Exploring Theory andPractice Organized by Creative Resource Empowerment and Action ( CREA )
- Exclusion in Social Science Pedagogy Organized by The Centre for Equity Studies, New Delhi
- South East Asia Sub-Regional Gender and Politics Training by APWLD
- Development Knowledge of Human Rights and learning about mechanisms of human rights Organize by Human Rights Lawyer Association (HRLA)
- Women’s Well-being and Gender Justice Concepts organized by Women’s Well-being and Gender Justice program, Sexuality Studies Association
ผู้ประสานงานหลักสูตร
วิภาพรรณ วงษ์สว่าง
- นักศึกษาปริญญาโทด้าน Social Design, L’École de Design Nantes Atlantiques กำลังทำผลงานจบในหัวข้องานออกแบบเพื่อยุติความรุนแรงทางเพศ
- ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent.in.th และ Consentconnection.org แพลตฟอร์มสร้างการเรียนรู้ออนไลน์ในประเด็นความยินยอมพร้อมใจทางเพศ เพศสัมพันธ์เชิงบวก ความเท่าเทียมทางเพศ และการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมทางสังคม
- นักเขียนอิสระ ปัจจุบันเขียนคอลัมน์รายเดือนที่ Thaipublica.com เกี่ยวกับการออกแบบและประเด็นเพศ
- นักออกแบบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
กิจกรรมด้านความเท่าเทียมทางเพศ การบรรยาย และการอบรมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
- เข้าร่วมสัมนา ‘Action for Gender Equality Conference’ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
- เข้าร่วมการอบรม SocDem Asia’s Political Management Training ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- เข้าร่วมกลุ่ม FES Thailand young feminist project.
- อาจารย์พิเศษในกิจกรรม “Traumics”ภายใต้วิชา Imaginative Media ภาควิชา CommArts มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
- วิทยากรในงานเสวนา “Sex is Fair because We Care”: It’s time for the Thai society to understand Sexual Consent. โดย Women’s Wellbeing and Gender Justice Program, Thai Health Promotion Foundation ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลอ้างอิงในโครงการ TIJ-UNODC Borderless Youth Forum in the topic of “gender-based violence”
- วิทยากรพิเศษในงานแสดงละครเวที Vagina Monologue event ณ UN Office กรุงเทพมหานคร
- วิทยากรพิเศษในกิจกรรมของ OXFAM กรุงเทพมหานคร
- โครงการที่ทำได้รับการกล่าวถึงในนิตยสาร National Geographic Thailand ฉบับ “ผู้หญิง : ศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง” ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2562
- บรรยายใน TEDx ว่าด้วยสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรหากเราเข้าใจ Consent