Internship Supervisor
Wipaphan WONGSAWANG
Fall 2019/2020 Internship (Ongoing)
A 4 months of internship in November 2019 – March 2020, 15 hours minimum per week. It aims to promote understanding of the gender activism ecology both in global context and local context and to enhance the ability to create and communicate knowledge about gender-based violence and consent.
The trainee will also develop their design research skills as well as the selected skill : journalism or visual designing. At the end of the program, each trainee will have to publish their individual mini-research under the theme of “Consent Interpretation” on local news site or present their work via any professional approach to pass the internship.
- Design Researcher & Journalist : Phattamaluck THONGSRI
- Design Researcher & Journalist : Pattanun TEJASEN
- Design Researcher & Visual Communication Designer: Poompat WATANASIRIKUL
ปัทมาลักษณ์ ทองสี
ชื่อเล่น ขิม อายุ 22 ปี ปัจจุบันเรียนคณะครุศาสตร์ สาขาศิลปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำ Page (Facebook) / Twitter ที่มีชื่อว่า Dearmedearyou เป็นแอคเคาท์ที่เน้นประเด็นเพศ ความเท่าเทียม สิ่งแวดล้อม และแบ่งปันสาระน่ารู้ที่โรงเรียนไม่ได้มอบให้
อธิบายชิ้นงาน : การถูกละเมิดทางเพศโดยคนรัก
- เราทำชิ้นงานนี้ขึ้นมาเพราะว่ามันเป็นประสบการณ์ตรงของเรา เราเคยถูกคนรักล่วงละเมิดทางเพศ (ข่มขืนและจับจุดสงวนของเราในที่สาธารณะ) เราต้องการให้คนอื่นรู้ว่าการละเมิดทางเพศในคู่รักมีจริง และไม่อยากให้ใครโดนแบบเราอีก และเราหวังว่าบทความของเราจะทำให้หลาย ๆ คนตระหนักได้ว่าตัวเองกำลังเป็นเหยื่อหรือเป็นผู้กระทำผิดอยู่รึเปล่า
- ขั้นตอนการทำของเราคือเริ่มจากเขียนเรื่องของตัวเองก่อน หลังจากนั้นเราสร้างแบบสอบถามและเผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ของเรา มีคนเข้ามาทำแบบสอบถามจำนวน 103 คน หลังจากนั้นเราได้ทำการรวบรวมข้อความของทุกคนที่น่าสนใจมาเก็บไว้ก่อน เดิมทีเราจะทำภาพถ่ายประกอบกับบทความ แต่ติดช่วงโควิดระบาดจึงทำให้ต้องพักงานนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นเราก็หันไปทำงานในทวิตเตอร์แทน เขียนบทความสั้น ๆ บนทวิตเตอร์และให้เพื่อนวาดภาพประกอบให้ จนสุดท้ายบทความของเราก็สำเร็จไปได้ด้วยดีและได้ภาพประกอบจากเพื่อนของเราที่วาดให้มาโดยตลอด
ภัทธนัน เตชะเสน
ภัทธนัน เตชะเสน (she/her) อายุ 19 ปี ศึกษาที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเฟมินิสต์ผู้รอคอยความเท่าเทียมอย่างมีความหวัง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ในช่วงชีวิตนี้ของเธอก็ตาม สนใจในเรื่องเพศศึกษาและสื่อ
ชิ้นงาน: ‘เปิดคลังหนังโป๊ สิทธิ จินตนาการ และผลกระทบบนโลกแห่งความจริง’
- บทความเกี่ยวกับผลกระทบของสื่อโป๊ ที่ในความเป็นจริงไม่ได้สวยหรูชวนเสียวเหมือนในจอโทรศัพท์ รวมไปถึงเจาะลึกในเรื่องเนื้อหาของสื่อโป๊ที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน ความเป็นส่วนตัว และศีลธรรม
- อยากให้สังคมเข้าใจถึงช่องโหว่ของการเสพสื่อเหล่านี้ รวมถึงทำความเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงที่อยู่เบื้องหลังจอ และเรามีความคาดหวังว่าผู้ผลิต นักคิดนักเขียน และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จะมีความตระหนักถึงความอันตรายของสื่อโป๊ที่สามารถดลใจก่อให้เกิดอาชญากรรม การล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
- เรามีความสงสัยในการเสพสื่อโป๊ของตน เพราะเราชอบในเรื่องบางเรื่องที่ดูเป็นสิ่งต้องห้ามของสังคม แต่สังคมจะคิดเช่นเดียวกับที่เราคิดหรือไม่ว่าสิ่งนี้ผิดปกติหรือมิชอบในด้านใด เราจึงเริ่มจากการทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความชื่นชอบและพฤติกรรมในการเสพสื่อโป๊ มีผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามมากถึง 1,422 คน ผ่านทางแพลตฟอร์มทวิตเตอร์และอินสตาแกรม โดยนำข้อมูลและความเห็นของผู้ที่ทำแบบสอบถามมาจัดหมวดหมู่ และตีความต่อ อีกทั้งยังพบว่าหมวดหนังโป๊ที่มีเนื้อหาขัดต่อสิทธิมนุษยชนยังคงถูกเสพอยู่อย่างแพร่หลาย จึงนำหมวดหมู่เหล่านั้นมาจัดเรียง และเล่าถึงผลกระทบในโลกแห่งความจริง ว่าสงผลร้ายต่อสังคมในด้านใด และสิ่งใดที่ควรถูกแบนออกไปจากการเป็นสื่อโป๊ หลังจากที่ได้ข้อมูลและเรียบเรียงเรียบร้อยแล้ว ได้ติดต่อกับนักวาด เพื่อบรีฟในเรื่องของภาพประกอบที่จะใช้นำเสนอ ในท้ายที่สุดผลงานก็สำเร็จลุล่วง เราหวังว่าบทความนี้จะสามารถเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง และเครื่องเตือนใจต่อผู้ที่ได้อ่านต่อ ๆ ไป
ภูมิพัฒน์ วรรธนะศิริกุล (ปูนปั้น)
ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ ชั้นปีที่4 ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ ศิลปากร แล้วก็ทำงานเป็น freelance illustrator/ graphic designer ครับ
อธิบายชิ้นงาน : motion graphic 3 ชิ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับ consent ในความสัมพันธ์ว่าเกี่ยวข้องกั
- ที่เลือกทำหัวข้อนี้เพราะว่ามี
คนรอบตัวหลายคนมากที่เผชิญกับปั ญหา toxic relationship แล้วบางคนก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ วตัวเองตกเป็นเหยื่อ หรือว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่คื อการควบคุมคนอื่น แล้วเราก็สงสัยอีกว่ าทำไมเราคนเราไม่ได้เข้าใจ เรื่องความยินยอม กันเลยทำไมถึงไม่มี สอนในระบบการศึ กษาเราเลยอยากทำสื่อง่ายๆที่ คนดูจะเข้าใจและลองนำไปคิด - ขั้นตอนเราก็จะมีการทำรีเสิร์
ชหาข้อมูลเก็บ insight ก่อนว่าคนเข้าใจคำว่า consent ยังไง หรือว่ารู้จักมั้ยว่า toxic / healthy relationship เนี่ยมันต่างกันยังไงนะ แล้วก็หาเรื่องลักษณะของภาพกั บสีที่เหมาะจะนำเสนอเพื่ อตอบโจทย์กลุ่มที่เราอยากจะสื่ อสารถึง ก็คือวัยรุ่น แล้วนำมาเข้ ากระบวนการการทำภาพเคลื่ อนไหวครับ