ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศ

เงียบแปลว่ายอมไหม? เริ่มแล้วหยุดไม่ได้จริงหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่าการล่วงละเมิดทางเพศคืออะไร

การล่วงละเมิดทางเพศคือพฤติกรรมทางเพศใดๆก็ตามระหว่างบุคคลเพศใดก็ตามที่:

  • ไม่เท่าเทียมด้วยความแตกต่างทางอายุ ความสามารถทางปัญญา สถานะ และบทบาท
  • ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ต้องการและยินยอมให้เกิดขึ้น
  • มีการบังคับกดดัน
  • อาจรวมไปถึงการสัมผัส การมีเพศสัมพันธ์ การโชว์ของลับ
  • การคุยโทรศัพท์ในแง่ลามกอนาจาร หรือพฤติกรรมทางเพศในโลกไซเบอร์ เช่น
  • การรับชมภาพยนตร์ลามกอนาจารเด็กและเยาวชน เป็นต้น

ทำไมถึงเกิดการล่วงละเมิดทางเพศขึ้น

คำถามนี้ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ง่ายถึงแม้จะมีทฤษฎีหลายข้อที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการล่วงละเมิดทางเพศได้แต่ก็ยังไม่มีคำตอบที่ทุกคนสามารถเห็นพ้องต้องกันได้ สิ่งที่เรารู้ตอนนี้คือ:

  • การล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมของเรามากกว่าที่เรารู้
  • แบบสอบถามของ Christchurch Health and Development
    เมื่อไม่นานมานี้ได้ทำการติดตามเด็ก 1,000 คนตั้งแต่แรกเกิดและพบว่าเด็กผู้หญิงจำนวน 7.3% และเด็กผู้ชายจำนวน 3.4% ถูกล่วงละเมิดทางเพศก่อนอายุ 16 ปี
  • ตำรวจควรจะเชื่อถือเวลามีผู้มาเเจ้งความกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศและดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มกำลัง
  • ผู้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศบ่อยครั้งมีเหยื่อหลายคนและเริ่มแรกจะไม่ค่อยเปิดเผยพฤติกรรมการล่วงละเมิดของตนทั้งหมด
  • ผู้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศสามารถหาวิธีได้หลากหลายมากในการโยนความผิดให้เหยื่อและลดความผิดของตน
  • พฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศทั้งหมดล้วนเกิดจากการตัดสินใจของผู้ล่วงละเมิดเองที่จะทำ
  • บุคคลบางคนทั้งหญิงและชายอาจเกิดความรู้สึกทางเพศกับเด็ก และถ้าเขาแสดงออกซึ่งความรู้สึกนั้นต่อเด็กหรือผู้เยาว์ นั่นถือว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ใหญ่บางคนอาจเกิดความรู้สึกทางเพศกับผู้ใหญ่เท่านั้นในเวลาปกติ แต่อาจจะเข้าหาเด็กทางเพศเมื่อประสบความเครียดอย่างหนัก เช่นโดนไล่ออกจากงาน หรือ หย่าร้าง เป็นต้น
  • ผู้ล่วงละเมิดทางเพศบางคนเป็นเหยื่อจากการล่วงละเมิดทางเพศหรือถูกทอดทิ้งเองในเวลาเด็ก ซึ่งนี่ไม่ใช่ข้ออ้างที่พวกเขาจะทำการล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่นเมื่อโตขึ้น แต่คือข้อเท็จจริงเท่านั้น
  • ในขณะเดียวกันผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศจำนวนมากดำรงชีวิตต่อไปโดยที่ไม่กลายมาเป็นผู้กระทำเลยตลอดชีวิต
  • ผู้กระทำบางคนล่วงละเมิดทางเพศเด็กและผู้เยาว์เพื่อที่จะได้รู้สึกถึงอำนาจและการควบคุมที่เขาไม่สามารถรับรู้ได้จากความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่คนอื่นๆ
  • นี่คือเหตุผลบางส่วนเท่านั้นที่ตอบคำถามว่าทำไมบุคคลบางคนถึงล่วงละเมิดทางเพศเด็กและผู้เยาว์
    แต่ไม่มีเหตุผลข้อไหนเลยที่สามารถเป็นข้ออ้างของเพศสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ได้ ไม่ว่าสาเหตุของการล่วงละเมิดทางเพศจะเป็นอะไรก็ตาม
  • ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกกระทำนั้นรุนแรงและจะอยู่กับเขาไปทั้งชีวิต

ข้ออ้างต่างๆ เช่น

  • เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์อื่น เกิดขึ้นตอนเมา
  • ผู้กระทำรู้สึกผิดหวังกระสับกระส่าย
  • ถูกใช้เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบเท่านั้น

การล่วงละเมิดทางเพศเป็นความผิดของผู้กระทำเสมอ

  • 4 ใน 5 กรณีของการล่วงละเมิดทางเพศ ผู้กระทำเป็นคนที่เด็กรู้จัก
  • ผู้กระทำอาจเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย คนดูแล พี่น้อง เพื่อนบ้าน ครู หมอ ผู้นำที่โบสถ์ และอื่นๆ
  • บ่อยครั้งผู้ถูกกระทำเป็นคนที่เด็กไว้ใจและสามารถใช้โอกาสนั้นล่วงละเมิดทางเพศเด็กได้
  • เหยื่อหลายคนกลัวที่จะบอกคนอื่นว่าตัวเองถูกล่วงละเมิดทางเพศ และอาจปกปิดเรื่องนั้นว่าไม่ได้เกิดขึ้น
  • ถึงแม้ว่าผู้กระทำจะถูกจับได้และสัญญาว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นบุคคลปลอดภัยหรือปล่อยผ่านไปได้
  • การล่วงละเมิดทางเพศสามารถสร้างความเจ็บปวดและความยากลำบากแก่ผู้รอดชีวิต ครอบครัว และเพื่อนของพวกเขา นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศจึงสำคัญมาก

อำนาจและความรุนแรง

  • ทัศนคติอีกอย่างหนึ่งที่สามารถอธิบายการล่วงละเมิดทางเพศได้คือการใช้อำนาจเหนือบุคคลอื่นเพื่อได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ การใช้อำนาจอาจหมายถึงการบังคับขู่เข็ญ ความรุนแรง การคุกคาม หรือการหลอกลวง
  • บุคคลบางพวกเชื่อว่าเป็นการยอมรับได้ที่จะใช้การบังคับขู่เข็ญเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ
  • นี่เป็นทัศนคติที่เห็นแก่ตัวอย่างยิ่ง ที่บอกว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการมีความหมายและสิ่งที่ผู้อื่นต้องการไม่มีความหมายเลย

การโทษเหยื่อด้วยความผิดและความอ่อนแอ

  • ทัศนคติอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้อธิบายการล่วงละเมิดทางเพศคือผู้ถูกกระทำนั้นเป็นฝ่ายผิด
  • คำพูดที่ว่า “เธอไม่น่าแต่งตัวแบบนั้นเลย”
  • “เขาเด็กเกินไปที่ออกมาข้างนอกคนเดียวดึกขนาดนั้น”
  • “เธอไม่ควรที่จะขอติดรถไปกับคนแปลกหน้า”
  • หรือ “เขาไม่น่าดื่มเยอะขนาดนั้น”
  • ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เสนอว่าพฤติกรรมของเหยื่อเองยินยอมให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศขึ้น

สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ

  • คุณไม่ได้ทำอะไรผิด
  • ความผิดและความรับผิดชอบเป็นของผู้กระทำเสมอ
  • ไม่มีใครขอให้ตัวเองถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ไม่มีใครสมควรจะถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • การล่วงละเมิดทางเพศคือการใช้อำนาจในทางที่ผิดเสมอ

เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยินยอม 

1.ความเงียบไม่ใช่การยินยอม 

การยินยอมนั้นหมายถึงการตอบตกลงอย่างชัดเจนในการที่จะมีกิจกรรมทางเพศใดๆ ทั้งนี้ การไม่ปฏิเสธ ไม่ได้หมายถึงการยินยอม

2.การยินยอม หมายความว่า

คุณรู้และเข้าใจสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น (ไม่ใช่ไม่รู้ตัว หมดสติ หรือขาดสติสัมปชัญญะ)
คุณรู้ว่าตัวเองต้องการทำอะไร
คุณสามารถบอกได้ว่าต้องการทำอะไร
คุณมีสติครบถ้วน (ไม่ตกอยู่ภายใต้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด)

บางครั้ง ในทางกฎหมายถือว่าคุณไม่สามารถให้ความยินยอมในกิจกรรมทางเพศใดๆ ได้ เช่นในกรณีต่อไปนี้

เมื่อถูกคุกคาม บังคับ ข่มขู่ หรือหลอกล่อให้ยอม
ขาดสมรรถภาพ เช่น เมาสุรา เมายาเสพติด มึนเมา หมดสติ หรือนอนหลับไม่รู้สึกตัว
ขาดสมรรถภาพทางจิตในการกระทำ (เนื่องจากป่วยหรือพิการ)
• เป็นผู้เยาว์ในทางกฏหมาย


โปรดจำไว้ว่า

การยินยอมนั้นต้องดำเนินไปตลอดทั้งกระบวนการ ไม่ใช่จากการตอบคำถามเพียงครั้งเดียว ถ้าหากว่าคุณได้ยินยอมที่จะมีความสัมพันธ์ไปแล้ว คุณก็สามารถที่จะเปลี่ยนใจและหยุดได้ทุกเมื่อ แม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะได้เริ่มไปแล้วก็ตาม

เคยยินยอมในอดีต ไม่ได้หมายความว่าจะต้องยินยอมในอนาคต การยินยอมในความสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยินยอมในความสัมพันธ์ครั้งนี้หรือครั้งต่อๆ ไปในอนาคต

การยินยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศ ไม่ได้หมายถึงการยินยอมในทุกๆ กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น หากคุณยินยอมที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศ นั่นหมายถึงคุณยินยอมก็ต่อเมื่อมันเป็นกิจกรรมทางเพศที่คุณรู้สึกสะดวกใจในช่วงเวลานั้นและกับบุคคลคนนั้นเท่านั้น


อะไรที่ไม่ถือว่าเป็นการยินยอม

การเงียบ การที่ไม่ปฏิเสธไม่ได้หมายถึงตอบรับ
เคยยินยอมมาแล้วก่อนหน้านี้ การยินยอมในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะต้องยอมในปัจจุบันเสมอไป การถามความสมัครใจถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางเพศทุกๆ ครั้ง
การคบหาหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่แต่งงาน กำลังคบหาดูใจ หรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกันมาก่อน ไม่ได้หมายถึงการยินยอมเสมอไป
เมาและขาดสติ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ alcohol, drugs, and sexual assault
ไม่ต่อสู้ขัดขืน การไม่ตอบโต้หรือขัดขืนทางกาย ไม่ได้หมายถึงการยินยอม
แต่งกายหรือเต้นรำที่ยั่วยุอารมณ์ทางเพศ หรือพูดจาหยอกล้อ จะถือว่ายินยอมต่อเมื่อตอบตกลงเท่านั้น


การบีบบังคับทางเพศหมายถึงอะไร

การล่วงละเมิดทางเพศอาจไม่ได้หมายถึงการใช้กำลังเสมอไป การบีบบังคับทางเพศหมายถึงการมีความสัมพันธ์โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้มีความต้องการ ซึ่งเกิดขึ้นจากการถูกกดดัน ล่อลวง หรือบีบบังคับโดยไม่ใช่ทางร่างกาย
ไม่ว่าใครก็กระทำการบีบบังคับทางเพศได้ ยกตัวอย่างเช่น สามี คู่รัก เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือคู่เดท


ตัวอย่างของการบีบบังคับทางเพศเช่นอะไรบ้าง

การกดดันทางอารมณ์หรือสังคม เพื่อบีบบังคับให้อีกฝ่ายยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ต้องการ สำหรับวิธีการที่อีกฝ่ายจะใช้เพื่อนำไปสู่การบีบบังคับทางเพศ นี่คือตัวอย่างของการบีบบังคับทางเพศ

ทำให้อีกฝ่ายยอมจำนนด้วยการขอมีเพศสัมพันธ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด รู้สึกแย่ รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ มักใช้ถ้อยคำดังต่อไปนี้

• “ถ้ารักกันจริง ก็ต้องยอม
• “ขอเถอะนะ นี่วันเกิดเรา
• “คุณไม่รู้หรอกว่าทำอะไรกับฉันไว้บ้าง

ทำให้คุณรู้สึกว่าสายเกินไปแล้วที่จะปฏิเสธ

• “แต่ตอนนี้ผมมีอารมณ์ไปแล้วนะ
• “ผู้ชายเริ่มแล้วหยุดไม่ได้หรอก

บอกว่าการไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วยจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณลงไป

• “อะไรๆ ก็ดีอยู่แล้ว จะทำให้มันพังทำไม
• “ถ้าไม่ยอม เราเลิกกัน

โกหกหรือข่มขู่โดยการปล่อยข่าวลือแย่ๆ เกี่ยวกับคุณ

• “ใครๆ ก็คิดว่าเรามีอะไรกันแล้ว เธอก็คงคิดอย่างนั้นเหมือนกัน
•  “ยังไงฉันก็จะบอกคนอื่นอยู่ดีว่าเราทำไปแล้ว

ให้สัญญา

• “ผมจะตอบแทนให้คุ้มค่าเลย
• “คุณก็รู้ผมมีเส้นสายเยอะแค่ไหน

ข่มขู่ลูกหรือคนในครอบครัวของคุณ

• “ถ้าเธอไม่ยอม ฉันจะไปทำกับลูกสาวเธอแทน

ยกเรื่องที่ทำงานงาน บ้าน หรือโรงเรียน ขึ้นมาเพื่อขู่

• “ผมนับถือการทำงานของคุณที่นี่นะ และผมจะเกลียดมากถ้าจะมีอะไรมาเปลี่ยนความรู้สึกนี้
• “ผมยังไม่ได้ตัดสินใจเลยว่าปีนี้จะให้โบนัสใครดี
• “ไม่ต้องห่วงเรื่องค่าเช่าหรอก มีอย่างอื่นที่เธอทำแทนได้
• “เรียนมาหนักขนาดนี้ ถ้าไม่ได้เกรด A ไม่เสียใจแย่เหรอ


จะตอบอย่างไรดีเมื่อถูกบีบบังคับทางเพศ

การถูกบีบบังคับทางเพศไม่ใช่ความผิดของคุณ ถ้าหากคุณรู้สึกว่าถูกกดดันให้ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ คุณสามารถพูดออกมา หรือหลบออกไปจากสถานการณ์นั้น แม้จะเสี่ยงที่จะจบความสัมพันธ์หรือทำร้ายความรู้สึกคนอื่นแต่ก็ยังดีกว่าการที่ต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการ


เรามีโอกาสที่จะถูกล่วงละเมิดจากคู่รักหรือคู่สมรสได้ไหม?

แน่นอน การล่วงละเมิดทางเพศหมายถึงกิจกรรมทางเพศที่เราไม่ต้องการ ไม่ว่าจะกับใครก็ตาม
การล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดจากคู่รักหรือคู่ครองเกิดขึ้นบ่อยมาก กว่าครึ่งของเหยื่อที่ถูกข่มขืนนั้น เกิดจากคู่รักหรือคู่ครองของตนเอง


เหล้าและยาเสพติด เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่

แน่นอน ทั้งสองสิ่งมักเกิดขึ้นพร้อมกัน ผลการวิจัยบอกว่า 3 ใน 4 ของคนร้ายดื่มเหล้าขณะก่อเหตุ

นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ราวครึ่งหนึ่งของเหยื่อที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศก็ดื่มด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าการดื่มเหล้าจะทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศเสมอไปผู้ก่อเหตุหลายรายเลือกใช้เหล้าเป็นเครื่องมือเพื่อให้เหยื่อหย่อนสมรรถภาพในการให้ความยินยอม ขัดขืน รู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้น หรือจำเหตุการณ์ที่ถูกล่วงละเมิดได้ ผู้ก่อเหตุมักอาศัยโอกาสที่เหยื่อดื่มเหล้าอยู่ก่อนแล้วโดยการชักชวนให้ดื่มมากกว่าปรกติ

ผู้ก่อเหตุหลายคนใช้ยา โดยผสมลงไปในเครื่องดื่ม แม้กระทั่งเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรืออาหาร โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว ยาเหล่านี้มีผลทำให้สูญเสียความทรงจำดังนั้นเหยื่อจะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น บางรายใช้ยาชนิดอื่นประกอบด้วย เช่น ยาอี กัญชา หรือ ยาตามใบสั่งแพทย์ ซึ่งคนเหล่านี้จะให้เหยื่อกินยาด้วยความเต็มใจหรือบางครั้งก็ไม่รู้ตัว

คนที่เมาสุรา ถูกวางยา มึนเมาเพราะฤทธิ์ยา ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ และเมื่อไม่ได้ยินยอม กิจกรรมทางเพศใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศทั้งสิ้น


ถ้าถูกล่วงละเมิดทางเพศควรทำอย่างไร

อ่านต่อได้ใน >> ขอความช่วยเหลือ


Translated by – Kittiya, Tawanchai N,