เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2021 ที่ผ่านมา Thaiconsent ได้จัดการพูดคุยออนไลน์ร่วมกับ Shaktitva (weareshaktitva.org) องค์กรคนรุ่นใหม่ที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศจากประเทศอินเดีย เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานสนับสนุนความเป็นธรรมทางเพศผ่านดิจิตอลแพล็ตฟอร์ม โดยทั้งสองฝ่ายบอกเล่าถึงที่มาขององค์กรตัวเอง พันธกิจ ความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศและปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายได้ประสบระหว่างการทำงาน
Shaktiva ดำเนินการโดยคนรุ่นใหม่ที่มีพื้นฐานด้านการออกแบบและการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยมีพันธกิจที่จะสร้างพื้นที่ชุมชนออนไลน์ให้ผู้หญิงในอินเดียสามารถแบ่งปันเรื่องราว แสดงจุดยืนร่วมกัน และต่อต้านความไม่เท่าเทียมทางเพศที่พวกเขาเผชิญในสังคมเพียงเพราะสังคมมองว่า “เป็นแค่ผู้หญิง”
ในช่วงแรกของการสนทนา Thaiconsent ได้นำเสนอประวัติความเป็นมาขององค์กรที่เริ่มเมื่อปี 2015 ว่าจุดเริ่มต้นของ Thaiconsent นั้นมาจากประสบการณ์ส่วนตัวที่พบว่า ผู้หญิงรอบตัวเรา เพื่อนเราหลายคนนั้นล้วนเคยประสบปัญหาการถูกคุกคาม หรือลวนลามทางเพศไม่มากก็น้อย และเมื่อได้มาพูดคุยกัน ทุกคนคิดตรงกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่ความโชคร้ายส่วนบุคคล แต่มันต้องมีโครงสร้างทางสังคมบางอย่างซึ่งเอื้อให้เกิดเรื่องแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดังนั้น กลุ่มผู้ริเริ่ม Thaiconsent จึงเริ่มค้นคว้าข้อมูลต่างๆ เพื่อหาคำอธิบายถึงรูปแบบปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบก็คือ คำว่า “consent” นั้นไม่มีอยู่ในภาษาไทย แนวคิดในเรื่องความสมยอมและยินยอมในเรื่องเพศไม่สามารถถอดเป็นภาษาไทยตรงๆ ได้ คนไทยจึงไม่รับรู้ถึงประเด็นนี้มาก่อน รวมไปถึงคนในสังคมยังไม่เข้าใจว่าการข่มขืนโดยคนใกล้ตัวมีรูปแบบเป็นอย่างไร ทั้งที่โดยนิยามแล้ว การข่มขืน หมายถึง การบังคับกดดันให้มีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความยินยอม
เมื่อเริ่มแปลเนื้อหาจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยแล้ว ต่อมา Thaiconsent ต้องการให้สิ่งที่ทำเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้มากขึ้น เพราะแต่เดิมความเท่าเทียมทางเพศเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงจำกัดอยู่ในวงการวิชาการ คำถามต่อไปคือ จะทำให้ความเท่าเทียมทางเพศมาเป็นส่วนหนึ่งของ Lifestyle ได้อย่างไร?
ในปี 2017 สื่อสังคมออนไลน์ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนในสังคมไทยมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้ผู้คนมากมายได้ทำความรู้จักกับ Thaiconsent ผ่านการสร้าง social media platform เปิดโอกาสให้คนสามารถเล่าเรื่องราวการมีเพศสัมพันธ์ที่ปราศจากความยินยอมมากับทางเพจ โดยทางเพจจะลงเรื่องราวที่ไม่ได้ระบุชื่อคนเล่า พร้อมวาดรูปประกอบลงไปที่หน้าเพจให้
โดยตอนนั้น ใช้ธีม concept งานว่า “fair/unfair sex” เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของคนหมู่มาก ซึ่งในตอนนั้น Thaiconsent ได้รับเรื่องราวจากทางบ้านมาเพียงแค่ไม่กี่สิบฉบับเท่านั้น ต่อมาจำนวนเรื่องราวถูกส่งเข้ามาเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันได้รับมาหลายร้อยฉบับ และเมื่อเป็นที่รู้จัก จึงเริ่มเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ “Sexual Consent” หรือ ความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนตอนนี้มียอดผู้ติดตามกว่า 50,000 คนใน Facebook และ มากกว่า 25,000 คนใน Twitter
ในระหว่างนั้น Thaiconsent ยังได้เล่าถึง การจัดงานนิทรรศการศิลปะส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในปีที่ผ่าน ๆ มา ทั้งในและต่างประเทศ สิ่งที่ Thaiconsent ต้องการจะสื่อก็คือ การทำให้เซ็กซ์ หรือ หัวข้อเรื่องเพศ กลายเป็นเรื่องที่สามารถคุยกันได้ทั่วไปเหมือนกันกับการชมผลงานศิลปะ
และเมื่อดำเนินงานมาเป็นเวลานาน ประเด็นต่อไปที่ Thaiconsent ค้นพบ คือ ทำอย่างไรให้สิ่งที่กำลังทำไม่หยุดอยู่ที่ผู้หญิงและชนชั้นกลาง เพราะที่จริงแล้ว ทุกคน ทุกเพศ ทุกเศรษฐสถานะ สามารถประสบกับการถูกคุกคาม ลวนลาม หรืออยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (toxic relationship) ได้ทั้งนั้น
Thaiconsent ในปี 2020-2021 ได้ลดบทบาทในด้านการทำงานสื่อสารลง แต่ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ที่ผ่านความสัมพันธ์ที่เป็นพิษมากขึ้น เพื่อศึกษาถึงรูปแบบพฤติกรรม สร้างฐานความรู้สาธารณะ และได้สร้างเครือข่ายเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรดังกล่าวขึ้นมา
ขั้นตอนตอนต่อไปคือการนำเครือข่ายนี้มาพัฒนาเพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรเองที่กำลังจะมีการเปลี่ยนผ่านคณะทำงาน และต้องการอุดช่องว่างการเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือของคนในสังคม
โดยมองว่าการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มนอกเหนือไปจากโซเชียลมีเดีย จะนำเอาจุดแข็งของ Thaiconsent ในเรื่องการเป็นพื้นที่ปลอดภัยในผู้คน ให้สามารถบอกเล่าเรื่องราวเข้ามาและได้รับคำปรึกษาจากสังคมที่มีการควบคุมคุณภาพได้ โดยมีแผนการเริ่มดำเนินงานด้านคำปรึกษาในปี 2021 เป็นต้นไป
เรื่องราวการเดินทางของ Thaiconsent สร้างแรงบันดาลใจให้กับองค์กรน้องใหม่อย่าง Shaktitva ที่เพิ่งสร้างได้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น ถึงแม้ว่าองค์กรพึ่งก่อตั้งได้ไม่นานนัก แต่รูปแบบและเป้าหมายองค์กรถือว่าเป็นที่น่าจับตามอง
We are Shaktiva
ในฝั่ง Shakititva บอกเล่าถึงการทำงานเกือบ 1 ปีเต็ม โดยกลุ่มของ Shaktiva เริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อลดความรุนแรงต่อผู้หญิงอินเดีย แต่เช่นเดียวกับ Thaiconsent คือเมื่อได้ค้นคว้าไปเรื่อยๆ ก็พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดช่องว่างทางเพศ นั้นเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง นั่นคือผู้หญิงในอินเดีย เข้าถึงโอกาสทางการเงินได้ยาก กระทั่งค่าแรงที่พวกเขาได้ก็ต่ำกว่าผู้ชายที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกัน
การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศนี้เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าใจสิทธิและอำนาจของตนเอง และความไม่เท่าเทียมทางเพศนี้มีอยู่ทุกที่
ทาง Shakititva รับรู้ถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ จึงมุ่งหมายที่จะสนับสนุนให้ผู้หญิงอินเดียตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเองมากขึ้น โดยฝ่าย Shaktitva กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่เราจำเป็นต้องมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้นคือ แรงจูงใจ สิ่งที่ขับเคลื่อนให้เรารู้สึกว่าเราไม่อาจทนอยู่แบบนี้ต่อไปได้ ทำให้เรารู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เราออกไปจากการอยู่แบบนี้ให้ได้ และเราจำเป็นต้องมีความกล้าในการที่จะลงมือทำ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อโครงการที่ Shaktitva ตระหนักได้ระหว่างทำโครงการคือ ผู้ที่มีความสนใจจะร่วมขับเคลื่อน ไม่อยากที่จะต่อสู้ตามลำพัง เพราะเมื่อออกมาพูดแล้วจะเกิดแรงต้านจากคนรอบตัวหรือจากครอบครัว
ดังนั้น หากสามารถรวมหน่วยงานสนับสนุน และคนเข้าร่วมให้ได้มากพอ ก็จะกำจัดความกลัวในการต่อสู้ตามลำพัง และรู้สึกว่ามีคนอื่นร่วมสู้ไปด้วยกัน เมื่อคนเห็นว่ากลุ่มแนวร่วมมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็มีแนวโน้มจะไปชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วม ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นำมาซึ่งกำลังคนที่ Shakititva ต้องการ
ในตอนท้าย Shakititva กล่าวว่า ทุกการสนับสนุนจากทุกกลุ่มมีความสำคัญ และทางทีมงานเข้าใจว่าอาจมีคำถามถึงแนวทางของพวกเขาว่าสิ่งที่พวกเขาทำอยู่นั้น ยุติธรรมต่อเพศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้หญิงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม Shakititva กล่าวว่า สิ่งที่พวกเขาอยากจะมุ่งเน้นในระยะนี้ก่อนคือรูปแบบความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่เกิดต่อผู้หญิง – ซึ่งปรากฎอย่างเห็นได้ชัด – และส่งผลต่อทุกแง่มุมในชีวิตประจำวันของพวกเธอและต่อคนที่อยู่รอบๆ ผู้หญิงเอง
เป้าหมายหลักของ Shaktitva คือการลดช่องว่างระหว่างเพศ (Gender Gap) ด้วยการสร้างพลังขับเคลื่อนผู้หญิง (Women Empowerment) โดยยึดหลัก 3 ข้อ ดังนี้
- Awareness การสร้างความตระหนักรู้ว่า ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้นมีอยู่จริง
- Motivation การกระตุ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- Action การลงมือทำ หรือ การขอความช่วยเหลือ
ด้วยหลักสามข้อนี้ ทำให้ Shaktitva ตั้งใจที่จะสร้าง Mobile Application มุ่งให้เกิดออนไลน์คอมมูนิตี้ เพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้หญิงจากหลาย ๆ ภูมิภาคในอินเดียได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกัน ในอนาคต Shaktitva มีแผนที่จะขยายแพลตฟอร์มนี้ในประเทศอื่น ๆ ด้วย เพราะทางองค์กรเชื่อว่าปัญหาเรื่องเพศมีอยู่ทุกที่
ฟังก์ชันของ Mobile Application ตัวนี้ยังมีความแปลกใหม่และน่าสนใจอย่างมาก
- ฟังก์ชันที่เป็นหัวใจหลักก็คือ Library เป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้งานได้เข้ามาลงบทความสั้น ๆ เล่าเรื่องแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็นทั้งประสบการณ์ที่ดี หรือ เลวร้ายก็ตาม
- นอกจากจะมีบทความจากผู้ใช้งานแล้ว ยังมีส่วนที่รวบรวมข้อมูล ข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้หญิงอีกด้วย ผู้หญิงสามารถเข้ามาศึกษาได้ว่า เมื่อเผชิญปัญหา มีทางออก หรือ กฎหมายข้อไหนที่จะสามารถคุ้มครองเธอได้บ้าง
- ฟังก์ชันสุดท้ายคือ NGO support เป็นฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการแก้ไขหรือก้าวออกมาจากปัญหา พวกเขาสามารถติดต่อ Shaktitva เพื่อให้ค้นหาและติดต่อองค์กรที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้
Shaktitva ยังได้กล่าวอีกว่า วิธีนี้จะช่วยให้ผู้หญิงที่กำลังประสบปัญหารู้สึกว่าเธอไม่ได้อยู่คนเดียว มีผู้หญิงอีกหลายคนที่พร้อมจะแก้ไขปัญหาไปพร้อมกับเธอ กำลังใจเหล่านี้สามารถช่วยให้พวกเธอก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากและกล้าที่ออกมาจากตรงนั้น
“Power of voice: หนึ่งเสียงอาจจะไม่ดัง แต่หลายเสียงรวมกัน เราเปลี่ยนแปลงได้”
อย่างไรก็ตาม Shaktitva ตระหนักถึงข้อจำกัดบางอย่างในการใช้ Mobile Application ตัวนี้ อย่างเช่น การเข้าไม่ถึงกลุ่มผู้หญิงที่อาศัยอยู่นอกตัวเมืองและไม่ค่อยได้ใช้สมาร์ทโฟนระหว่างวัน หรือการเข้าไม่ถึงผู้สูงอายุที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ถือว่าอย่างไรก็ตาม Application ของ Shaktitva นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มีโอกาสพัฒนาและผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศในสังคมอินเดียได้ในอนาคต
เรียบเรียงโดย
ณัฐชยา ศรีสวัสดิ์
ปัณณฉัตร ประดับพงศ์
From Shaktiva’s reflection.
Being so influenced by the western societies, it becomes instinctive to start looking at western societies for solutions as well. However domains like ‘gender inequality’ cannot be tackled/ approached with western approach. It is important to remember how the two contexts differ greatly. For instance, women in Asia have a very different status in society as compared to the west. This is what majorly helped bind Thaiconsent and Shaktitva together on the call. The similar context makes each other’s research and solutions surely more relatable and understandable.
Shaktitva targets the broad domain of gender gap, with the aim to reduce it. Also realising how big this domain is, we start with women. It is a solution to work on root cause and move ahead from helping victims. It stands on a strong belief that it is a human made problem, started, carried forward, made prevalent by human society and can only be eradicated by society as a whole. Hence we are a digital community joining hands together to reduce this gap. Not as an outsider but from within the people. The approach to create awareness amongst the general public instead of only helping people who have already suffered is a key point to bring us together.
This confluence of two groups revealed multiple facts and new thoughts. It was an opportunity for us to learn of similar scenarios out of our country. “In Thailand, We have to make people rethink about what does rape mean.” This came to many, more like a shock than a fact. This statement is a reflection of the societal norms which have existed for centuries and still continue to do. This call helped us look at the domain with fresh insights and new perspectives, different from what we have been thinking. It brings to us a realisation of multiple domains within this big domain and pops questions like why is it still prevailing? Is it in our upbringing, or more radically maybe our religion? We together have discussed how working on root cause is more important than to provide support to mere victims.