เมื่อวันที่ 29 ถึง 31 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา Thaiconsent ได้มีโอกาสในการส่งตัวแทนเข้าร่วมฟังงานเสวนา UN Generation Equality Forum จัดโดย องค์กรเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ประเทศเม็กซิโก โดยงานเสวนาถูกแบ่งออกเป็นช่วงต่าง ๆ ตามหัวข้อและประเด็นที่น่าสนใจ ในแต่ละหัวข้อจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านั้นมาแชร์ประสบการณ์และความคิดเห็น ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีตั้งแต่นักเคลื่อนไหวเยาวชนในเปรู ไปจนถึงอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศนิวซีแลนด์
Panel: Women and Transformative Leadership for Generation Equality
Panel แรกที่ Thaiconsent ได้มีโอกาสเข้าฟังคือ Women and Transformative Leadership for Generation Equality โดยประเด็นที่ถูกพูดถึงหลัก ๆ เกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิในการตัดสินใจ และการสร้างโอกาสในการเป็นผู้นำของสตรีเพื่อความเท่าเทียม
หนึ่งในสปีกเกอร์แรกคือ Hajer Sharief นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษย์ชนและผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร Together We Can Build It จากประเทศลิเบีย
“Women’s participation is a right.” การมีส่วนร่วมของเพศหญิงคือสิทธิพื้นฐานของสังคม
เธอกล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในการเข้าถึงสิทธิการตัดสินใจส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่มองข้ามการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ซึ่งถ้าหากเราไม่เห็นการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมอย่างแท้จริง ระบบในการตัดสินใจต่าง ๆ ถูกออกแบบมาไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน หรือสังคมนั้น ๆ
“แล้วทำไมไม่ไปลงสมัครเลือกตั้งล่ะ กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามหนิ”
เธอคิดว่าคำพูดข้างต้นมองข้ามปัญหาเชิงโครงสร้างหลายอย่างออกไป โดยเธอบอกการเข้าถึงสิทธิในการตัดสินใจเป็นเรื่องที่มีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป โดยเธอยกตัวอย่างตัวเธอเอง ในฐานะชาวลิเบีย ที่แม้แต่จะจองตั๋วเครื่องบินไปประเทศต่าง ๆ ยังคงต้องขอวีซ่า ซึ่งประเทศลิเบียนั้นเป็นหนึ่งในประเทศที่มี Travel Freedom ต่ำมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก (อันดับ 103) โดยสามารถเดินทางไปเพียงแค่ 37 ประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับ ชาวปาเลสติเนียน และ ซูดาน
สปีกเกอร์คนต่อมาคือ Hellen Clark อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศ นิวซีแลนด์ (ค.ศ. 1999 ถึง 2008) โดยประเด็นที่เธอพูดถึงคือ ความเสี่ยงต่อความรุนแรงต่อผู้นำสตรี
เธอได้เล่าถึง Reykjavik Index for Leadership ซึ่งเป็นการวิจัยในการวัดทัศนคติของประชาชนต่อผู้หญิงที่มีอิทธิพลในสังคม ในประเทศ G20 โดยหนึ่งใน insight ที่น่าเป็นห่วง คือการที่แม้กระทั่งประชาชนชาวเยอรมัน ที่มีผู้นำสตรีอย่าง อังเกลา แมร์เคล (Angela Merkel) มีเพียงแค่ 41% ที่ยอมรับผู้นำหญิงอย่างแท้จริง
Reykjavik Index For Leadership Full Report (2019-2020)
ผู้นำหญิงได้แสดงถึงความเป็นผู้นำอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การมีความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (empathy) และการดำเนินการที่ปราศจาก ”ego” เธอเชื่อว่าเราจะได้เห็นคนรุ่นใหม่มองผู้นำหญิงด้วยทัศนคติที่แตกต่างออกจากปัจจุบัน
ต่อมาเธอได้เล่าถึงความสำเร็จในการสร้างอิทธิพลของผู้นำหญิงในประเทศของเธอ โดยเธอบอกว่าปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดคือตอนที่ประเทศของเธอได้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งเป็นรูปแบบ mixed-member proportional (MPP) ในปี 1996 ซึ่งแตกต่างจากระบบเดิมที่ใช้ของประเทศอังกฤษ
ประเทศนิวซีแลนด์นั้น ถือได้ว่าเป็นประเทศที่สำเร็จในการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศมายาวนาน โดยนิวซีแลนด์ถือได้ว่าเป็นประเทศแรกที่มอบสิทธิในการเลือกตั้งให้แก่ผู้หญิงอย่างเต็มตัวในปี 1893 และมีสัดส่วนจำนวนสมาชิกรัฐสภามากไปกว่าประเทศอื่น ๆ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้นิวซีแลนด์อยู่ใน 10 ประเทศสูงสุดใน Global Gender Gap Report ที่วัดความเท่าเทียมทางเพศในด้านต่าง ๆ ได้แก่: ความมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา และ อิทธิพลทางการเมือง
ณ ปัจจุบัน มากถึง 40.8% ของสมาชิกรัฐสภา นิวซีแลนด์เป็นเพศหญิง โดยไม่มีการให้โควต้าใดๆทั้งสิ้น
Hellen กล่าวว่า “โควต้า” เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างนึงในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและ representation ที่เท่าเทียม โดยเฉเพาะในประเทศที่อาจยังไม่เห็นความคืบหน้าในด้านนี้มากนัก
เธอลงท้ายด้วยคำแนะนำว่าเราควรที่จะสร้าง “เครือข่าย” ระกว่างทั้งหญิงและชายในสังคมเพื่อปรับปรุงระบบให้เท่าเทียมมากขึ้นสำหรับผู้นำที่จะมาสร้างความเปลื่ยนแปลงในรุ่นต่อ ๆ ไป
ผู้พูดท่านถัดคือ Inés Yabar นักเคลื่อนไหวเพื่อความยั่งยืนจากประเทศเปรู
เธอกล่าวว่าจริง ๆ แล้วในปัจจุบันมีผู้นำหญิงในชุมชนจำนวนไม่น้อยเลยที่เดียวและผู้นำเหล่านั้นก็ได้ส่งเสียงอยู่บ่อยครั้ง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเสียงของพวกเขสเหล่านั้นไม่ได้รับการฟังอย่างแท้จริง
อีกหนึ่งปัญหาที่เธอมองเห็นคือ ถึงแม้ว่าจะมีผู้นำหญิงในระดับชุมชนจำนวนมาก แต่มีเพียงแค่ 13 ประเทศที่เคยมีผู้นำประเทศเป็นสตรี และมีเพียงแค่ 2 ประเทศเคยที่มีผู้นำหญิงจำนวน 3 คน
คำถามคือทำไมผู้นำชุมชนเหล่านี้ไม่สามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามลำดับ
เธอได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ในประเทศเปรู ว่ามีสมาชิกสภาเป็นสตรีอยู่ประมาณ 34% และกำลังจะมีการเลือกตั้งในไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า โดยInés กล่าวว่ามันคือหน้าที่ของเราที่จะต้องคอยสนับสนุนผู้นำหญิงให้สามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้อย่างแท้จริง อีกหนึ่งประเด็นที่เธอได้เล่าถึงคิอการสร้างความรู้และความตระหนักสำหรับเยาวชน ในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาวะทางเพศ หรือ period poverty
และได้ทิ้งคำถามที่น่าขบคิดเอาไว้ว่า ….
“I think the fact that we are all here today demonstrates that women are in positions of power, but are we really being listened to?”
“การที่เราทุกคนอยู่ตรงนี้แสดงให้เห็นว่ามีผู้นำหญิงที่มีอิทธิพลมากมาย แต่คำถามคือสังคมได้ฟังเสียงของพวกเขาอย่างแท้จริงหรือไม่”
บันทึกโดย ธีธัช ทิพย์โสดา